![]() |
หนังสือราชการ
หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04008/ว643 เรื่องการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลโรงเรียนในโครงการโรงเรียนประชารัฐ ลง วันที่ 22 กรกฎาคม 2559
หนังสือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04008/ว643
เรื่องการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลโรงเรียนในโครงการโรงเรียนประชารัฐ ลง วันที่ 22 กรกฎาคม 2559
![]() |
ผลประชุม ก.ค.ศ.6/2559
ผลประชุม ก.ค.ศ.6/2559 พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 6/2559 และการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ครั้งที่ 6/2559 เมื่อวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม 2559 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ว่าที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) โดยสรุป ดังนี้ การพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ประชุมได้หารือถึงการแก้ไขหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจะเกี่ยวข้อง 2 ส่วน คือ ปรับปรุงระบบการประเมินวิทยฐานะ และหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความชำนาญการ หรือความเชี่ยวชาญในตำแหน่ง และวิทยฐานะที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง (มาตรา 55 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547) โดยขอให้ยึดหลักการว่าหากจะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ใดๆ จำเป็นจะต้องถามผู้รับการประเมินก่อนด้วย เพราะเจตนารมณ์การกำหนดหลักเกณฑ์คือ เพื่อปกป้องครูไม่ให้สังคมโจมตีได้ว่าครูรับเงินวิทยฐานะสูงขึ้น แต่คุณภาพผู้เรียนลดลง การได้รับวิทยฐานะที่สูงขึ้น ย่อมส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพผู้เรียน ซึ่งหลักเกณฑ์ใหม่จะมีระบบการประเมินและพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ คาดว่าจะเริ่มใช้ในปี 2560 เห็นชอบแก้ไขหลักเกณฑ์ฯ นำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีอื่น ตำแหน่งครูผู้ช่วย สพฐ. สืบเนื่องจากการที่ ก.ค.ศ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนำรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีหนึ่งไปขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบแข่งขันได้ในบัญชีอื่น ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ 0206.6/ว3 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 นั้น แต่ที่ผ่านมาพบปัญหา เช่น กศจ. บางแห่งมีผู้ยื่นความประสงค์มาขึ้นบัญชีของ กศจ.เพียงคนเดียว หรือในจังหวัดนั้นมีบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ในกลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอก เหลืออยู่เพียงบัญชีเดียว หากจะดำเนินการประเมินเพื่อจัดลำดับที่ในการขึ้นบัญชีของ กศจ. โดยการสอบข้อเขียนแบบปรนัยและสัมภาษณ์ อาจทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณและเป็นการเพิ่มภาระงานให้ กศจ. นอกจากนี้ จากการประชุมสัมมนาการบริหารงานบุคคลของ กศจ. ใน 4 ภูมิภาค ได้มีข้อเสนอให้ กศจ. เป็นผู้กำหนดวิธีการประเมินเพื่อจัดเรียงลำดับที่เอง โดยไม่ต้องยึดว่าต้องสอบเฉพาะข้อเขียนแบบปรนัยและการสัมภาษณ์เท่านั้น หรือ กศจ.ใดที่มีบัญชีผู้สอบแข่งขันเหลืออยู่เพียงบัญชีเดียว ให้ กศจ.นั้น นำรายชื่อผู้สอบแข่งขันมาประกาศเป็นบัญชีของ กศจ.ได้เลย โดยไม่ต้องประเมินเพื่อจัดเรียงลำดับที่ใหม่ ที่ประชุมได้พิจารณาแล้ว จึงเห็นควรแก้ไขหลักเกณฑ์ ว3/2559 ดังกล่าว โดยให้ ยกเลิกการกำหนดวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัยและการสอบสัมภาษณ์ มาเป็น ให้ กศจ.พิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงความโปร่งใส เป็นธรรม และเสมอภาค ทั้งนี้ อายุการขึ้นบัญชีให้มีอายุบัญชีเท่าเดิม เห็นชอบแก้ไขหลักเกณฑ์ฯ การสอบครูผู้ช่วย สพฐ. ที่ประชุมเห็นชอบให้แก้ไข หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ตามหนังสือ ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.6/ว 14 ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2558 (หลักเกณฑ์ ว14/2558) เพื่อใช้สำหรับการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ครั้งที่ 1/2559 เพื่อให้สถานศึกษามีอัตรากำลังข้าราชการการครูเพียงพอต่อความต้องการ และทันกำหนดการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โดยกำหนดให้ กศจ. หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ดำเนินการสอบแข่งขัน และให้ยกเลิก “การให้รวมกลุ่มกันในพื้นที่เขตตรวจราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการให้สถาบันอุดมศึกษาที่เห็นสมควร เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับการออกข้อสอบ” ตามหลักสูตรที่กำหนดท้ายหลักเกณฑ์และวิธีการตาม ว 14/2558 ทั้งนี้ อาจมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด หรือสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แล้วแต่กรณี ตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการสอบแข่งขันได้ตามความจำเป็นและความเหมาะสม เห็นชอบการจัดสรรคืนอัตราว่างของข้าราชการครูฯ จากผลการเกษียณอายุราชการ จากการที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2557 ได้เห็นชอบการจัดสรรคืนอัตราว่างของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจากผลการเกษียณอายุราชการ เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2557 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12,884 อัตรา เป็นตำแหน่งครูผู้ช่วย 10,424 อัตรา นั้น เนื่องจากมีการแก้ไขวันเดือนปีเกิดที่ผิดพลาดของข้าราชการครูจำนวน 2 ราย จากสังกัด สพป.กาญจนบุรี เขต 1 และ สพม. เขต 14 (พังงา-ภูเก็ต-ระนอง) ทำให้ สพฐ.ต้องนำเสนอให้ที่ประชุมได้พิจารณา ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้ว มีมติอนุมัติจัดสรรอัตราว่างตำแหน่งครูผู้ช่วยจำนวน 2 อัตราดังกล่าวและให้ สพฐ.ดำเนินการเกลี่ยอัตรากำลังที่ได้รับอนุมัติ โดยให้จัดสรรในสถานศึกษาที่มีจำนวนอัตรากำลังไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังที่ ก.ค.ศ. กำหนด และเป็นไปตามเงื่อนไขที่ ค.ป.ร.กำหนดโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานต้นสังกัดตรวจสอบ ก.พ.7 ของข้าราชการให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อการบริหารงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย การเลือกตั้งผู้แทนองค์กรกลางบริหารงานบุคคล เป็นกรรมการสวัสดิการข้าราชการ ที่ประชุม ก.ค.ศ. เห็นชอบเสนอชื่อ นายสงกรานต์ จันทร์น้อย ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดย ก.ค.ศ. ในครั้งนี้ ให้เป็นผู้แทน ก.ค.ศ.ในคณะกรรมการสวัสดิการข้าราชการ ที่ตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการข้าราชการภายในส่วนราชการ พ.ศ.2547 โดยมีเลขาธิการ ก.พ. เป็นประธานกรรมการ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี การตั้งอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเกี่ยวกับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชุมเห็นชอบตั้ง นายวีระกุล อรัณยะนาค ผู้ตรวจราชการกระทรวง ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการภาค 8 เป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.วิสามัญเกี่ยวกับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ แทนผู้อำนวยการสำนักงานศึกษาธิการภาค 12 ตามการเปลี่ยนพื้นที่รับผิดชอบ การบริหารงานบุคคลของ กศจ. ภายหลังการประชุม ก.ค.ศ. ได้มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ครั้งที่ 6/2559 โดยมี รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) ดำเนินการสรรหากรรมการใน กศจ. ในส่วนของผู้แทนครูในท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนภาคประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งชั่วคราวในวันที่ 8 กรกฎาคมนี้ โดยขอให้ กศจ.ทุกแห่งดำเนินการสรรหาองค์ประกอบของกรรมการดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายใน 45 วัน แต่หาก กศจ.ใดไม่ดำเนินการให้เสร็จสิ้นตามระยะเวลาดังกล่าว คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค จะดำเนินการแต่งตั้งเอง เพื่อไม่ให้ยืดเยื้อจนเกิดปัญหาทำงานไม่ได้ บัลลังก์ โรหิตเสถียร, |
MoU โครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (CONNEXT ED)
MoU โครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน (CONNEXT ED) ทำเนียบรัฐบาล – พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) โครงการผู้นำเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน CONNEXT ED (Leadership Program for Sustainable Education) ภายใต้โครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน 2559 ณ ตึกสันติไมตรี โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี, นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ, พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน, ผู้บริหารฝ่ายการเมือง, ผู้บริหารองค์กรหลัก, คณะกรรมการสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ, ผู้บริหารองค์กรภาคเอกชน, ผู้แทนภาคประชาสังคม, ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนนักเรียนและนักศึกษา เข้าร่วมงาน นายศุภชัย เจียรวนนท์ ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน กล่าวว่า โครงการผู้นำเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน CONNEXT ED เป็นโครงการภายใต้นโยบายสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ โดยเป็นความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของความร่วมมือที่ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง โครงการผู้นำเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน CONNEXT ED คือ การที่ผู้นำรุ่นใหม่จำนวน 1,000 คน จาก 12 องค์กรภาคเอกชนที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโครงการ จะทำหน้าที่ 2 ประการ คือ เป็น School Partners ให้กับสถานศึกษาทั่วประเทศ ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมและดำเนินงานร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐ ซึ่ง School Partners ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนทั่วประเทศ มีหลักการดำเนินงาน 3 ด้าน คือ 1) สนับสนุนการดำเนินงานของผู้บริหารสถานศึกษาให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ (Enable) 2) ร่วมเสนอแนวทางพัฒนาโรงเรียนเพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน (Enhance) 3) สร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน (Engage) อีกทั้งจะมีผู้บริหารระดับสูงจากภาคเอกชนทำหน้าที่เป็น School Sponsor โดยให้ข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์ รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านงบประมาณในการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐที่เข้าร่วมโครงการในปีแรกนี้จำนวน 3,342 โรงเรียน และคาดว่าจะขยายผลการดำเนินโครงการไปยังโรงเรียน 7,424 โรงเรียน ทุกตำบลทั่วประเทศภายในปี พ.ศ.2561 นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งว่า "เด็ก คือ อนาคตของประเทศ" ดังนั้นการทำให้อนาคตของประเทศเป็นคนดีมีความรู้คู่คุณธรรม จึงขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ว่าจะปั้นให้อนาคตของประเทศเป็นแบบที่ต้องการได้อย่างไร ทั้งนี้การศึกษาถือเป็นเบ้าหลอมที่เชื่อมโยงในทุก ๆ ด้าน และเกี่ยวข้องกับการเตรียมคนให้มีความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนเป็นพื้นฐานความรู้ที่จะสอนให้คนรู้จักความถูกต้อง ดังนั้น ผู้ใหญ่จึงต้องคำนึงถึงความสำคัญของเด็ก การศึกษา และร่วมกันพัฒนาอย่างจริงจังเพื่ออนาคตของประเทศ โครงการ CONNEXT ED ถือเป็นมิติใหม่ในการพัฒนาการศึกษา ซึ่งภาครัฐยินดีอำนวยความสะดวกให้กับคณะทำงานทั้งภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาการศึกษาด้านต่าง ๆ ซึ่งการเป็นผู้นำต้องเป็นผู้นำแห่งความเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ต้องสามารถรวบรวมปัญหา นำปัญหามาคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้ พร้อมทั้งต้องมีหลักธรรมาภิบาล คุณธรรม และจริยธรรม อย่างไรก็ตามขอให้สร้างเครือข่ายผู้นำรุ่นใหม่จาก 1,000 คน เพิ่มขึ้นเป็น 3,000-5,000 คน ในระยะต่อไป เพื่อร่วมกันพัฒนาการศึกษาของชาติ
อรพรรณ ฤทธิ์มั่น |
การปรับคะแนน O-NET วิชาภาษาอังกฤษ ม.3
|
ศธ.เปิดรับสมัครโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี 2559
|
ประชุมชี้แจงโครงการโรงเรียนประชารัฐ
|
โรงเรียนประชารัฐ
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้นโยบายแก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ในการประชุมชี้แจงโครงการโรงเรียนประชารัฐ และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงสานพลังประชารัฐ "ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ" เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม2559 ณ โรงแรมรอแยล เบญจา โดยมี พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายอรรถพล ตรึกตรอง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานถึงการจัดประชุมในครั้งนี้ว่า จากการที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศนโยบายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเป็นการรวมพลังระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นกลไกสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบเรื่องการศึกษาของประเทศ เล็งเห็นถึงประโยชน์ของความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ จึงมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดทำโครงการโรงเรียนประชารัฐ และจัดทำบันทึกข้อตกลงสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ เพื่อร่วมขับเคลื่อนและยกระดับการศึกษาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน โรงเรียนประชารัฐ เป็นโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกจาก สพฐ. มาจากทุกตำบลในประเทศไทย ตำบลละ1 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 7,424 โรงเรียน และได้แบ่งการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนประชารัฐเป็นระยะๆ โดยในระยะแรกได้ดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนจากหลายสังกัด จำนวน 3,322 โรงเรียน เพื่อเข้ารับการพัฒนา แบ่งเป็น - โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 3,093 โรงเรียน เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนประชารัฐ เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่วางไว้ สพฐ.จึงจัดการประชุมในครั้งนี้ เพื่อชี้แจงภาพรวมการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนประชารัฐ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนทั้งสิ้น 225 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา/มัธยมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 225 เขต รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้ชี้แจงทำความเข้าใจให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ความสำคัญกับนโยบายประชารัฐ เพราะนอกจากจะเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่กระทรวงศึกษาธิการมีส่วนเกี่ยวข้อง 2 คณะ คือ ด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ และด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำแล้ว นโยบายนี้จะช่วยให้เรามี Third Party มาช่วยกันทำงานเพื่อการศึกษา ทั้งภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ซึ่งที่ผ่านมามีการหารือร่วมกับภาคเอกชนมาเป็นระยะๆ โดยไม่มี Agenda (วาระประชุม) อะไรที่ปกปิดภาคเอกชนในการทำงานร่วมกันเลย ซึ่งต่อไปในการทำงานทั้งระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาก็เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ภายหลังการคัดเลือกโรงเรียนและลงนามความร่วมมือในครั้งนี้แล้ว ก็จะมีการพัฒนาเว็บไซต์ของโรงเรียนประชารัฐ และการวางแผนอุปถัมภ์โรงเรียนจากภาคเอกชน จากนั้นจะมีการอบรมผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้แทนภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ที่สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) จ.นครปฐม ภายในเดือนเมษายนนี้ รวมทั้งมีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการในทุกเขตพื้นที่การศึกษา โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นที่ปรึกษา มีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นประธาน และมีรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเลขานุการ ทั้งนี้ ในการจัดวางตัวบุคคลที่จะเข้ามาทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเป็นฝ่ายเลขานุการ ขอให้เป็นบุคคลที่จะเข้ามาทำงานนี้อย่างต่อเนื่อง มีความทุ่มเท และเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายนี้โดยละเอียดไปพร้อมๆ กัน โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบให้ พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำเสนอประเด็นสำคัญเชิงนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รับทราบและเข้าใจทิศทางการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ คือ - ประเด็นปัญหาที่ผ่านมาของการศึกษาไทย ที่จะต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาไปพร้อมๆ กัน 6 เรื่อง คือ 1) หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ 2) การผลิตและพัฒนาครู 3) การผลิตพัฒนากำลังคนและงานวิจัย 4) การบริหารจัดการ 5) การประเมินและการพัฒนามาตรฐานการศึกษา 6) ICT เพื่อการศึกษา - ยุทธศาสตร์จุดเน้นการปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะกรอบแนวคิดการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต และโครงการสำคัญที่ต้องขับเคลื่อน 65 โครงการ - นโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการที่ดำเนินการต่อเนื่อง เช่น ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้, การอ่านออกเขียนได้, DLTV, DLIT, STEM Education, การยกระดับมาตรฐานทักษะภาษาอังกฤษ, การแนะแนวด้านอาชีพในโรงเรียน สพฐ., โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น, การใช้เครือข่ายอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงให้โรงเรียน สพฐ., การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วย ICT, การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก, การบริหารครูและบุคลากรทางการศึกษา, การปรับระบบทดสอบ, โครงการโรงเรียนประชารัฐ เป็นต้น บัลลังก์ โรหิตเสถียร : สรุป/รายงาน |